วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนที่


1. ความหมายของแผนที่
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า
    “แผนที่ คือสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น
    แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลงแล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบ ไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี  เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
ชนิดของแผนที่ แบ่งได้หลายชนิด คือ
                1. แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏให้เห็นบนแผนที่ ได้แก่
                    1.1 แผนที่ลายเส้น เป็นแผนที่ ที่มีรายละเอียดปรากฏเป็นลายเส้น
                    1.2 แผนที่แบบผสม เป็นแผนที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย รายละเอียดพื้นฐานใหญ่ได้จากภาพถ่าย แต่สิ่งที่ต้องการเน้นแสดงด้วยลายเส้น เช่น ถนน อาคาร แม่น้ำ เป็นต้น
                2. แบ่งตามขนาดมาตราส่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                        2.1 แบ่งในทางภูมิศาสตร์
                                - แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีมาตราส่วนเล็กว่า 1 : 1,000,000
                                - แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีมาตราส่วนตั้งแต่ 1 : 250,000- 1 : 1,000,000
                                - แผนที่มาตราส่วนใหญ่ มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 250,000
                        2.2 แบ่งในกิจการทหาร
                                - แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีมาตราส่วนเล็กว่า 1 : 600,000 และเล็กกว่า
                                - แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 600,000 แต่เล็กกว่า 1 : 75,000
                                - แผนที่มาตราส่วนใหญ่ มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 75,000 และใหญ่กว่า
                3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
                        3.1 แผนที่ทั่วไป มีมาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000 แสดงเขตการปกครอง เช่น เขตประเทศ เขตจังหวัด ตลอดจนแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศโดยใช้แถบสีต่างๆ
                        3.2 แผนที่โฉนดที่ดิน เป็นแผนที่แสดงขอบข่ายการแบ่งซอยที่ดิน ระยะเนื้อที่ของแต่ละบริเวณ เป็นแผนที่มาตราส่วนใหญ่
                        3.3 แผนที่ผังเมือง ใช้แสดงอาคารสถานที่ของตัวเมือง ถนนหนทาง
                        3.4 แผนที่ทางหลวง ใช้แสดงถนนสายสำคัญ เป็นแผนที่มาตราส่วนเล็ก
                        3.5 แผนที่เศรษฐกิจ ใช้แสดงลักษณะการกระจาย หรือความหนาแน่นของประชากร การขนส่ง เขตอุตสาหกรรม แหล่งทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น
                        3.6 แผนที่สถิติ ใช้แสดงรายการสถิติ เป็นแผนที่มาตราส่วนเล็ก โดยแสดงเป็นจุดหรือด้วยเส้น
(แสดงความกดอากาศ อุณหภูมิ)
                        3.7 แผนที่รัฐกิจ ใช้แสดงเขตการปกครอง ดินแดนหรือพรมแดน
                        3.8 แผนที่ประวัติศาสตร์ ใช้แสดงอาณาเขตสมัยต่างๆ ตลอดจนชาติพันธุ์
                        3.9 แผนที่เพื่อนิเทศ ใช้ในการโฆษณา หรือเพื่อแสดงนิทรรศการ
                4. แบ่งตามกิจการทหาร
                        4.1 แผนที่ยุทธศาสตร์ มีมาตราส่วน 1 : 1,000,000 เพื่อให้คลุมพื้นที่ได้กว้างขวางใช้สำหรับการวางแผนทางทหาร
                        4.2 แผนที่ยุทธวิธี มีมาตราส่วน 1 : 50,000
                        4.3 แผนที่ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธี มีมาตราส่วนมาก 1 : 250,000
                        4.4 แผนที่ที่ใช้ในกิจการทหารปืนใหญ่ มีมาตราส่วน 1: 25,000
                        4.5 แผนที่เดินเรือ เป็นแผนที่ที่ใช้ในการเดินเรือ ในทะเล ในมหาสมุทร แสดงความลึกของท้องน้ำ สันดอน แนวปะการัง ฯลฯ
                        4.6 แผนที่การบิน เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการเดินทางในอากาศ เพ่อให้ทราบถึงตำแหน่งและทิศทางของเครื่องบิน
องค์ประกอบของแผนที่
                1. ชื่อของแผนที่
                2. มาตราส่วนของแผนที่
คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ
                3. สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย
คือ รายละเอียดของสิ่งต่างๆ ของบนพื้นผิวโลกที่แสดงลงบนแผนที่ แบ่งออกเป็น 5 จำพวก
                        3.1 แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร แม่น้ำ หนอง บึง ที่ลุ่มชายฝั่ง
                        3.2 สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน ทางรถไฟ อาคาร ฯลฯ
                        3.3 ลักษณะพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ เช่น เขา ภูเขา
                        3.4 พืชพรรณ เช่น ป่า สวน ไร่นา
                        3.5 สิ่งที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ เช่น แหล่งทรัพยากร
                4. สีที่ใช้ในแผนที่
ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี
                        4.1 สีดำ ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน
                        4.2 สีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน
                        4.3 สีน้ำเงิน ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล ฯลฯ
                        4.4 สีน้ำตาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ
                        4.5 สีเขียว ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ ป่าไม้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก พืชสวน
                        4.6 สีเหลือง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง
                        4.7 สีอื่นๆ บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่าง รายละเอียดเหล่านี้จะมีบ่งไว้ในรายละเอียดในแผนที่
               5. ระบบอ้างอิงบนพื้นผิวโลก
                    ระบบอ้างอิงบนพื้นผิวโลก ทำให้ผู้ศึกษาแผนที่หาตำแหน่งหรือกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้ เรียกว่า พิกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดจากระบบอ้างอิงบนพื้นผิวโลก 2 ระบบ
                   1. เส้นเมอริเดียน
(Meridian Line) หมายถึง เส้นสมมติที่ลากเชื่อมระหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้
                        - เส้นเมอริเดียนอยู่ในแนวเหนือใต้
                        - ปลายเส้นเมอริเดียนจะบรรจบกันที่ขั้วโลกทั้งสอง และห่างกันมากที่สุด   ณ บริเวณเส้นศูนย์สูตร
                        - เส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นจะมีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของวงกลมใหญ่
                        - บนพื้นโลกจะลากเส้นเมอริเดียนได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ที่ปรากฏบนลูกโลกหรือแผนที่จะลากเส้นให้ห่างกันแต่พองาม
            เส้นเมอริเดียนที่สำคัญ คือ 
                    เส้นเมอริเดียนเริ่มแรก (Prime meridian) หมายถึง เส้นเมอริเดียนที่ถือเป็นหลักเริ่มแรกที่ลากผ่านตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา โดยลากไปทางตะวันออกและทางตะวันตกของเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก ข้างละ 180 เส้นตามค่าของมุม โดยเส้นที่ 180 จะทับกันพอดีเรียกว่า เส้นเขตวัน (International Line) หรือ เส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ จัดเป็นเส้นที่เพิ่มวันใหม่และสิ้นสุดวันเก่า คือ ถ้าเดินไปทางตะวันตก(เอเชีย)โดยข้ามเส้นเขตวัน จะต้องเพิ่มวันขึ้นอีกหนึ่งวัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันไปทางตะวันออก(อเมริกา) จะลดวันอีกหนึ่งวัน เช่น ทางเอเชียเป็นวันจันทร์ เมื่อข้ามเขตวัน (เส้นเมอริเดียนที่ 180) ไปทางอเมริกา จะเป็นวันอาทิตย์ (ลด 1 วัน) ค่าของมุมที่วัดไปตามเส้นเมอริเดียน เรียกว่า ลองจิจูด

                ลองจิจูด (Longitude) ค่าของมุมที่วัดเป็นองศาไปทางตะวันออกและทางตะวันตกของเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก ข้างละ 180 องศา ฉะนั้นทุกครั้งที่บอกค่าลองจิจูด ต้องบอกเป็นค่าองศาตะวันออกหรือตะวันตกด้วย
                2. เส้นขนาน (Parallels) เส้นสมมติที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือและทางใต้ มีคุณสมบัติ ดังนี้
                        - เส้นขนานทุกเส้นจะขนานกันและกัน
                        - เส้นขนานจะอยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตก
                        - เส้นขนานจะตัดกับเส้นเมอริเดียนเป็นมุมฉากเสมอ ยกเว้นบริเวณขั้วโลก
                        - เส้นขนานทุกเส้นเป็นวงกลมเล็กทั้งสิ้น ยกเว้นเส้นศูนย์สูตร  ค่าของมุมที่วัดไปตามเส้นขนาน เรียกว่า ละติจูด
                    ละติจูด (Latitude) หมายถึง ค่าของมุมที่วัดเป็นองศาไปทางเหนือและทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ข้างละ 90 อาศา ฉะนั้นทุกครั้งที่บอกค่ามุมละติจูดต้องบอกเป็นองศาเหนือหรือองศาใต้ด้วย



หมายเหตุ 1 องศา แบ่งออกเป็น 60 ลิปดา   1 ลิปดา แบ่งออกเป็น 60 ฟิลิปดา
                    การหาลองจิจูด หาได้จากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาดังนี้ 
                    โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1,440 นาที
                    ค่าของมุมตามเส้นเมอริเดียน(ลองจิจูด)มีทั้งหมด 360 องศา  
                   ฉะนั้น ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้น มีเวลาห่างกัน  1440 /360  = 4 นาที
                   นั่นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที  
                            เวลา   4   นาที ค่าลองจิจูดต่างกัน         1     องศา 
                               “     60   “            “                          60/4    = 15 องศา
                    นั้นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกันทุกๆ   15  องศา   มีเวลาต่างกัน  1  ชั่วโมง
เส้นเมอริเดียนกับเวลา
               
เวลามาตรฐาน (Standard time) คือ เวลาที่คิดตามเส้นเมอริเดียนมาตรฐาน โดยกำหนดให้เส้นเมอริเดียนทุก 15 องศา เวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง ซึ่งยึดเอาเวลามาตราฐานที่ตำบลกรีนิซ หรือเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก เป็นหลัก เช่น เวลาที่เส้นเมอริเดียนเริ่มแรก (ตำบลกรีนิช)เวลา 12.00 น. ค่าลองจิจูด 15 องศา, 30 องศา, 45 องศา ทางตะวันออก จะเป็นเวลา 13.00 น., 14.00 น. และ 15.00 น. ส่วนค่าลองจิจูด15 องศา, 30 องศา, 45 องศา ทางตะวันตก จะเป็นเวลา 11.00 น. 10.00 น. และ 09.00   
                สำหรับประเทศได้มีการประกาศใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2463 ซึ่งมีเวลามาตรฐานเร็วกว่าที่กรีนิช 7 ชั่วโมง  เพราะประเทศไทยอยู่ห่างจากเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก (กรีนิช) 105 องศาไปทางตะวันออก 
                                ฉะนั้น ทุก 15 องศา    เวลาต่างกัน               1           ชั่วโมง 
                                                  105  “         “                    105/15   = 7   ชั่วโมง
                แต่ความจริงค่าลองจิจูด 105 องศา อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ฉะนั้นถ้าคิดตามเวลาท้องถิ่นจริงๆ ที่อุบลราชธานีเวลา 07.00 น.ที่กรุงเทพฯ จะเป็นอีกเวลาหนึ่ง ไม่เท่ากัน เพราะกรุงเทพฯ กับอุบลราชธานี อยู่คนละลองจิจูดกัน แต่ประเทศไทยทั้งประเทศอยู่ในเขตเวลา (Time Zone) อันเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ จึงถือเอาค่าลองจิจูด 105 องศาตะวันออกเป็นหลักในการคิดเวลาของประเทศ เช่น  เวลาที่อังกฤษ 07.00 วันจันทร์ เวลาที่ประเทศไทยจะเป็นเท่าไร อังกฤษใช้เวลาตามเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก มีค่าลองจิจูด 0 องศา ส่วนประเทศไทยเวลามาตรฐานเส้นค่าลองจิจูด 105 องศาตะวันออก    ประเทศไทยอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ จึงมีเวลาเร็วกว่า หรือ 7 ชั่วโมง
                ฉะนั้น เวลาประเทศไทย เท่ากับ 07.00+ 7 = 14.00 น. วันจันทร์ เมื่อนำเวลาที่ต่างกันมาบวกกันแล้ว เวลาที่ได้มีค่าไม่เกิน 24.00 น. แสดงว่าเป็นวันเดียวกัน แต่ถ้าได้ค่ามากกว่า 24.00 น. แสดงว่าเป็นคนละวัน คือต้องนับวันเพิ่มอีกหนึ่งวัน เช่น  เวลาที่อังกฤษ 20.00 วันจันทร์ ฉะนั้น เวลาประเทศไทย เท่ากับ 20.00+ 7 = 27.00 น.   เวลาที่ประเทศไทย เท่ากับ 27.00 –24.00 = 03.00 น. วันอังคาร
คำถาม    1. ถ้าเมือง ก เป็นเวลาเที่ยง ให้หาเวลาท้องถิ่นของเมือง ข ซึ่งอยู่ทางตะวันออก  ของเมือง ก 60 องศา
               2. ตำบล ก อยู่ที่ลองติจูด 100 องศาตะวันออก เป็นเวลา 15.00 น. วันอังคาร อยากทราบว่า ตำบล ข ซึ่งอยู่ที่ 90 องศาตะวันตก จะเป็นเวลาอะไร?   และวันอะไร?
 ……………………………………………………………………………………………


แหล่งข้อมูล   http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Map-constitution1.htm
               


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์หมายถึง


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
หมายถึง   สิ่งที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ 

ประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
     เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้
1. ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
2. ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล

   
1. แผนที่
        แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ
ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ
  •           ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น
  •           ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น  ถนน เขื่อน โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น
     2. รูปถ่ายทางอากาศ
          รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน      หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม 
     3. ภาพจากดาวเทียม
         ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ  การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง (Remote Sensing ) โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลก  จากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์มหรือภาพพิมพ์ต่อๆไป
     4. อินเตอร์เน็ต
        
อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค การสื่อสารไร้พรมแดน”   บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า เว็บเพ็จ” (Web Page)  มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทเครื่องมืออุปกรณ์

      อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้
      1. เข็มทิศ
          เข็มทิศเป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก   ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก
      2. เครื่องมือวัดพื้นที่
          เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด
      3. เทปวัดระยะทาง
          เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
      4. เครื่องย่อขยายแผนที่
          เครื่องย่อขยายแผนที่ ( patograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่จ้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉลับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรอขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง
      5. กล้องวัดระดับ
          กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
      6. กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป
          กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป  (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ